แนวความคิดตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ ซักมัน ฟรอยด์ ( Sigmund Freud )
ฟรอยด์ เชื่อว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์
มีแรงจูงใจมาจากจิตไร้สำนึก ซึ่งมักจะผลักดันออกมาในรูปความฝัน การพูดพลั้งปาก
หรืออาการผิดปกติทางด้านจิตใจในด้านต่างๆ นอกจากนี้ยังเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับ
แรงขับทางสัญชาตญาณ(Instinctual drive) สัญชาตญาณดังกล่าว ได้แก่
สัญชาตญาณแห่งการมีชีวิต (Eros or Life) เป็นสัญชาตญาณที่แสดงออกมาในรูปแบบของสัญชาตญาณทางเพศ
โครงสร้างของบุคลิกภาพ
(Structure of Personality)
ฟรอยด์ เชื่อว่าโครงสร้างของบุคลิกภาพจะประกอบด้วย
อิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้ โดยสรุปป็นข้อๆ
ดังนี้
1. อิด ( Id ) เป็นต้นกำเนิดของบุคลิกภาพ
และเป็นส่วนที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด Id ประกอบด้วยแรงขับทางสัญชาตญาณ
( Instinct ) ที่กระตุ้นให้มนุษย์ตอบสนองความต้องการ ความสุข
ความพอใจ การทำงานของ Id จึงเป็นไปตามหลักความพอใจ เช่น เด็กหิวก็จะร้องไห้ทันที
เพื่อตอบสนองความต้องการของเขา
2. อีโก้ ( Ego ) เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ทำหน้าที่ประสาน อิด และ
ซูเปอร์อีโก้ ให้แสดงบุคลิกภาพออกมาเพื่อให้เหมาะสมกับความเป็นจริง
และขอบเขตที่สังคมกำหนดเป็นส่วนที่ทารกเริ่มรู้จักตนเองว่า ฉันเป็นใคร Ego ขึ้นอยู่กับหลักแห่งความเป็นจริง
3. ซูเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมจรรยา
บรรทัดฐานของสังคม ค่านิยม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ
ซึ่งทำหน้าที่ผลักดันให้บุคคลประเมินพฤติกรรมต่างๆ ที่พัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดู
โดยเด็กจะรับเอาค่านิยม บรรทัดฐานทางศีลธรรมจรรยา
และอุดมคติที่พ่อแม่สอนเข้ามาไว้ในตนเอง ที่พ่อแม่ถ่ายทอดให้ลูกว่าสิ่งใดดีควรประพฤติปฏิบัติหรือไม่อย่างไร
จะทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกผิด (Guilt Feeling) ที่จะติดตามรบกวนจิตใจของบุคคลเมื่อกระทำสิ่งใดที่ขัดต่อมโนธรรมของตนเอง
พัฒนาการทางบุคลิกภาพ
ฟรอยด์ อธิบายถึงการพัฒนาการทางบุคลิกภาพ
ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการทางเพศ จากความเชื่อเกี่ยวกับสัญชาตญาณทางเพศในเด็กทารกที่แสดงออกมาในรูปพลังของลิบิโด
(Libido)
ซึ่งฟรอยด์ แบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพออกเป็น 5 ขั้น
ได้แก่
1. ขั้นปาก (Oral
Stage) เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ ความสุขและความพึงพอใจจะอยู่บริเวณปาก
การได้รับการกระตุ้น หรือเร้าที่ปากจะทำให้เด็กเกิดความพึงพอใจ
ทำให้เด็กตอบสนองความพึงพอใจของตนเองโดยการดูด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูดนมแม่จึงเป็นความสุข
และความพึงพอใจของเขาในขั้นนี้
ถ้าพ่อแม่หรือผู้ใกล้ชิดให้การอบรมเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม
มีการดูแลเอาใจใส่ให้ความรักความอบอุ่นอย่างเต็มที่จะทำให้เด็ก เกิดความไว้วางใจ
และความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเอง และสภาพแวดล้อม
ถ้าเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเหมาะสม เช่น ถูกปล่อยให้ร้องไห้
เพราะหิวเป็นเวลานานๆ จากพ่อแม่ และผู้ใกล้ชิด จะทำให้เด็กพัฒนาความไม่ไว้วางใจ (Distrust)
มีความรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับตนเอง และเกลียดชังสภาพแวดล้อม
2. ขั้นทวาร (Anal
Stage) เด็กจะมีอายุตั้งแต่ 1-3 ขวบ ในวัยนี้ ความสุขและความพึงพอใจจะอยู่ที่บริเวณทวาร
โดยที่เด็กจะมีความพึงพอใจ เมื่อมีสิ่งมากระตุ้น หรือเร้าบริเวณทวาร
เริ่มมีความพึงพอใจกับ ความสามารถใน การควบคุมอวัยวะ ของตนเอง
โดยเฉพาะอวัยวะขับถ่าย การฝึกการขับถ่าย เช่น
ถ้าเด็กพอใจกับการถ่ายอุจจาระมากเกินไป โตขึ้นก็จะเป็นคนสุรุ่ยสุร่าย
แต่ถ้าเด็กพอใจกับการกลั้นอุจจาระไว้ไม่ยอมขับถ่าย ก็จะเป็นคนขี้เหนียว
หรือถ้าเด็กรู้สึกโกรธหรือเกลียด
พ่อแม่ที่เข้มงวดในเรื่องขับถ่ายก็จะทำให้เด็กมีนิสัยดื้อรั้น
ก็จะกลายเป็นเจ้าระเบียบ เป็นต้น
3. ขั้นเพศ (Phallic
Stage) เริ่มตั้งแต่ 3 – 5 ขวบ ในขั้นนี้ ความสุขและความพึงพอใจจะอยู่ที่อวัยวะเพศ
โดยที่เด็กเกิด ความรู้สึกพึงพอใจกับการจับต้องอวัยวะเพศ ทำให้เด็กชายรักใคร่
และหวงแหนแม่จึงเกิดความรู้สึกอิจฉา และเป็นปรปักษ์กับพ่อในขณะที่เด็กหญิงจะรักใคร่
และหวงแหนพ่อจึงรู้สึกอิจฉา และเป็นศัตรูกับแม่ ที่เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า
เป็นปมออดิปุส (Oedipus Complex)
4. ขั้นแฝง (Latency
Stage) เริ่มตั้งแต่ อายุ 6 – 11 ปี ในขั้นนี้
ความสุขและความพึงพอใจจะไม่ปรากฏอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ
เสมือนขั้นแฝงของพลัง Libido เป็นระยะพักในเรื่องเพศ
และจินตนาการทางเพศ เด็กจะเริ่มมีชีวิตสังคมภายนอกบ้านมากขึ้นที่จะเรียนรู้
และปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆ ในโรงเรียน หากเด็กมีพัฒนาการในวัยต้นๆ
อย่างเหมาะสมในขั้นนี้เด็กจะมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนกลุ่มเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น