แนวความคิดตามทฤษฎีจิตวิทยารายบุคคล อัลเฟรด แอดเลอร์
ทฤษฏีบุคลิกภาพของแอแดเลอร์ (Adler’s
Personality Theory)
อัลเฟรด
แอดเลอร์ (Alfred Adler) เป็นจิตแพทย์ที่ได้ค้นคว้าและพัฒนาบุคลิกภาพขึ้นมาใหม่
เรียกว่า จิตวิทยาปัจเจกชน (Individual psychology)
แอดเลอร์มีความเชื่อว่า
บุคคลโดยพื้นฐานแล้วจะถูกจูงใจโดยปมด้อย
บุคคลบางคนมีความรู้สึกเป็นปมด้อยเมื่อมีร่างกายพิการ
และมีความต้องการที่จะทำการชดเชยปมด้อยเหล่านี้
ความรู้สึกที่ตนมีปมด้อยทำให้เกิดแรงขับที่เรียกว่า ปมเด่น เช่น นักกวีชาวอังกฤษ
ลอร์ด ไบรอน (Lord Byron) ขาพิการเป็นแชมป์เปี้ยนว่ายน้ำ
บีโซเวน (Beethoven) หูพิการได้สร้างตนเองจนได้รับความสำเร็จเป็นนักดนตรีเอกของโลก แนวความคิดพื้นฐานที่สำคัญเกี่ยวกับบุคลิกภาพของแอดเลอร์มาจากคลินิกรักษาคนไข้โรคจิต
คนไข้ของเขามีทั้งศิลปินและนักกายกรรม
ซึ่งมาเปิดการแสดงที่สวนสาธารณะบริเวณใกล้ๆคลินิก
แอดเลอร์พบว่าคนไข้ที่เข้ามารักษาตัวส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จและมีพละกำลังสมบูรณ์แข็งแรง
แต่เมื่อสืบประวัติจะพบว่าคนไข้เหล่านี้เป็นเด็กอ่อนแอและเจ็บป่วยบ่อยๆ
ในสมัยเมื่อเป็นเด็ก แต่ปัจจุบันกลับเอาชนะความอ่อนแอเหล่านี้ได้
จุดนี้เองทำให้แอดเลอร์สนใจศึกษาแนวความคิดในเรื่องการได้รับความสำเร็จจากการชดเชยความรู้สึกด้อยของบุคคลเหล่านี้
แนวความคิดที่สำคัญ
แนวความคิดที่สำคัญของแอดเลอร์มีไม่มากนัก
แต่ได้รับการยกย่องว่ามีสาระลึกซึ้งเป็นแนวคิดที่ผิดแปลกจากนักปรัชญาคนอื่นๆ เช่น ฟรอยด์
มีความเห็นว่าพฤติกรรมส่วนมากของมนุษย์ถูกกระตุ้นจากสัญชาตญาณอันมีมาแต่เกิด
โดยเฉพาะแรงกระตุ้นทางเพศและก้าวร้าว จุง
เห็นว่าสิ่งที่สะสมอยู่ในจิตไร้สำนึกจะมีส่วนสำคัญในการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์แอดเลอร์
มีความเห็นว่าพฤติกรรมและบุคลิกภาพของมนุษย์ได้รับการเร่งเร้าจากลักษณะสัมพันธภาพระหว่างบุคคลกีบเพื่อนมนุษย์หรือกับพฤติกรรมสังคมเป็นสำคัญ
แนวความคิดแอดเลอร์ สรุปดังนี้
1.ประสบการณ์ในวัยเด็ก
แอดเลอร์
เน้นการอบรมเลี้ยงดูในระยะ 5 ปี แรกของชีวิต
ซึ่งจะเป็นระยะที่สำคัญที่สุกต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ โดยแอดเลอร์กล่าวว่า
เจตคติที่พ่อแม่มีต่อเด็กและสัมพันธภาพภายในครอบครัวจะมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก
เช่น เด็กที่ถูกตามใจจนเสียคนเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่มักปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ยาก
เพราะมักทำอะไรตามใจตัวเองตั้งแต่เด็ก เด็กที่พ่อแม่ทะนุถนอมหรือตามใจลูกมากเกินไป
ย่อมอจะทำให้ลูกหมดโอกาสที่จะเรียนรู้ในการต่อสู้เพื่อบรรลุถึงความเด่นอันเป็นจุดหมายที่คนเราปรารถนา
เป็นต้น
2.ความปรารถนามีปมเด่นและมีความรู้สึกมีปมด้อย
แอดเลอร์
มีความเห็นว่ามนุษย์ทุกคนมีแรงจูงใจที่สำคัญอยู่อย่างหนึ่ง
ซึ่งครอบงำพฤติกรรมส่วนใหญ่และลักษณะของบุคลิกของตน
ซึ่งมีความปรารถนาที่จะมีปมเด่น (Striving for Superiority) ทุกคนอยากความเด่นสักอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละคนแต่ละวัย แต่ละช่วงอายุ แอดเลอร์มีความเชื่อว่า
ปมด้อยและความปรารถนาจะเด่นเป็นแรงผลักดันอันสำคัญยิ่งที่ทำให้คนประพฤติในพฤติกรรมต่างๆ
หรือสร้างชีวิตให้มีความหมาย ทั้งปมด้อย
และการสร้างปมเด่นเพื่อชดเชยปมด้อยก็ไม่ใช่สิ่งผิดปกติด้วย
แต่ก็ไม่ใช่ความสุขสบายเสมอไป
แอดเลอร์เชื่อว่าสาระสำคัญของชีวิตคือการแสวงหาความสุขให้แก่ตนเองมากกว่าการแสวงหาในด้านอื่นๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น