แนวความคิดตามทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อ โดย อีริค เบอร์น ( Eric Berne )
ประวัติผู้ก่อตั้ง
อีริค
เบอร์น(Eric
Berne) เกิดวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ.1910
ที่เมืองมอนทรีอัล คิวเบค ประเทศแคนนาดา เดิมชื่อว่า เลนนาร์ด เบอร์นสไตลน์
พ่อของเบิร์น เดวิด ฮิลเลอร์ เบอร์นสไตน์ เป็นหมอ ส่วนแม่ของเบอร์น ซารา กอร์ดอน
เบอร์นสไตน์ มีอาชีพเป็นนักเขียน เบอร์น มีพี่น้องคนเดียวคือ เกรซ
น้องสาวซึ่งมีอายุน้อยกว่าเขา 5 ปี พ่อแม่ของเบอร์นอพยพมาจากรัสเซียและโปแลนด์. ทั้งพ่อและแม่ของเบอร์น
จบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์, อีริค
ซึ่งสนิทกับพ่อของเขามาก,ได้เล่าถึงการเป็นผู้ช่วยพ่อดูรักษาผู้ป่วย.คุณหมอเบอร์นสไตน์เสียชีวิตด้วยวัณโรคด้วยวัย38ปี.แม่ของเบอร์นของเสาหลักของครอบครัวหลังพ่อเขาเสียชีวิตเธอสนับสนุนให้เบอร์นเรียนด้านแพทย์เพื่อดำเนินรอยตามคุณหมอเบอร์นสไตน์พ่อของเบอร์น.
เบอร์น จบแพทยศาสตร์ และศัลยศาสตร์จากวิทยาลัยการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยแมคกิลล์
ในปี 1935.
แนวคิดที่สำคัญ
ภาวะตัวตน(EGO
STATES) และความสัมพันธ์ (TRANSACTIONS)
การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นที่มาของความสัมพันธ์
(Transactions)
ความสัมพันธ์หนึ่งๆจะแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน
คือ สิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response) โดยปกติแล้วความสัมพันธ์ส่วนบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์โดยรวม
แต่ละด้านของความสัมพันธ์หรือผลของความสัมพันธ์อาจอยู่ในรูปของความสัมพันธ์ทางตรงไปตรงมา
มีประสิทธิภาพ เหมาะสม หรืออ้อมค้อม สูญเปล่าและไม่เหมาะสม. เมื่อบุคคลมีปฏิสัมพันธ์ พวกเขาจะแสดงในรูปของสภาวะตัวตน (Ego
State) 3 ประเภทซึ่งแตกต่างกันไป. สภาวะตัวตนชัดเจนของความคิด
ความรู้สึก และพฤติกรรม และสภาวะอัตตาแต่ละอย่างมีแหล่งที่มาจากแต่ละส่วนของสมอง.
บุคคลสามารถแสดงพฤติกรรมจากสภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ (Parent Ego State). สภาวะตัวตนของเด็ก(Child ego State) หรือจาก
สภาวะตัวตนของผู้ใหญ่ (Adult ego State). เช่นเดียวกัน
พฤติกรรมของเราก็มาจากสภาวะตัวตนอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อย่างนี้.
สภาวะตัวตนแบบเด็ก
(Child
Ego State)
เมื่อเราอยู่สภาวะตัวตนแบบเด็ก
เราจะแสดงออกเหมือนเด็ก. ไม่ใช่แค่แสดงออกเท่านั้น เราจะคิด รู้สึก มอง ได้ยิน
และตอบสนองราวกับเด็กอายุสามขวบ ห้าขวบ หรือแปดขวบ
เมื่อเด็กมีความรู้สึกเกลียดหรือรัก ตื่นเต้น เป็นธรรมชาติ หรือชอบเล่นสนุก
เราจะเรียกเด็กประเภทนี้ว่า เด็กตามธรรมชาติ (Natural Child) เป็นต้น
ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ (Parent ego State) ภาวะตัวแบบพ่อแม่มีลักษณะตรงกับข้ามกับภาวะตัวตนแบบเด็ก.
ภาวะตัวตนแบบพ่อมีจะมีลักษณะเก็บจำล่วงหน้า ด่วนตัดสิน
มีอคติล่วงหน้าในการดำรงชีวิต. เมื่อบุคคลอยู่ในภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ เขาจะคิด
รู้สึก และแสดงออกเหมือนพ่อแม่หรือคนที่เขาถือเป็นแบบอย่าง.
ภาวะตัวแบบพ่อแม่จะตัดสินใจ ว่าจะต้องสนองต่อเหตุการณ์อย่างไร อะไรดีหรือไม่ดี
และบุคคลจะดำรงชีวิตอยู่อย่างไร โดยไม่จำเป็นต้องอิงอยู่กับหลักเหตุผล.
ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่อาจแสดงออกในรูปของการตัดสิน ต่อต้าน ควบคุม
หรือให้การสนับสนุนก็ได้
ภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่
(THE
ADULT)
เมื่ออยู่ในภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่
(Adult ego state) บุคคลจะแสดงออกเหมือนคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามข้อมูลที่รวบรวมได้และเก็บข้อมูลและใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจตามโปรแกรมที่อิงตามหลักตรรกะ.เมื่ออยู่ในในภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่
บุคคลจะใช้ความคิดแบบตรรกะในการแก้ไขปัญหา บุคคลอาจตั้งวัตถุประสงค์เอาไว้ว่า
ฉันเป็นผู้ใหญ่และฉันก็มีอารมณ์ แบบนี้ใช่หรือไม่.
การเป็นมนุษย์ที่มีวุฒิภาวะและเจริญเติบโตขึ้นไม่เหมือนกับการอยู่ในภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่.
เด็กเล็กก็สามารถอยู่ในภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่ของพวกเขาได้ และปรับเปลี่ยนไปตามวัย
พร้อมกับสามารถใช้ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่และเด็กได้ตลอดเวลาเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น