วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

แนวคิดตามทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล แฮรี่ สแตค ซัลลิแวน ( Harry Stack Sullivan )


แนวคิดตามทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล แฮรี่ สแตค ซัลลิแวน ( Harry Stack Sullivan )

ประวัติ
            แฮรี่ สแต็ค ซัลลิแวน (Harry Stack Sullivan)   เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์  ค.ศ. 1895 ที่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา และเสียชีวิตในเดือนมกราคม ค.ศ. 1949 รวมอายุ 55 ปี ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ของชิคาโกและเข้าเป็นแพทย์ทหารในสงครามครั้งที่ 2 เมื่อสงครามยุติได้เข้าทำงานเป็นแพทย์ในสถาบันต่างๆ ต่อมาได้เข้าทำงานที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ ซึ่งเป็นช่วงที่เขาได้ศึกษาโรคจิตเภทที่มีจำนวนมากในขณะนั้นซัลลิแวนเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักกล่าวสุนทรพจน์ทางจิตเวชเป็นผู้นำในการฝึกฝนจิตแพทย์ในด้านบุคลิกภาพ เขาได้ตั้งทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (The interpersonal Theory of Psychiatry) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1929 และสำเร็จในกลางปี ค.ศ. 1930 ตลอดชีวิตมีผลงานเล่มเดียว คือ ทฤษฎีบุคลิกภาพ ซึ่งพิมพ์ในปี ค.ศ. 1947 ผลงานที่เหลือได้รับการตีพิมพ์หลังเขาเสียชีวิตแล้วโดยเพื่อนของเขานำออกตีพิมพ์ เช่น Psychiatric  Interview , Clinical  Studies in  Psychiatry , Schizophrenia as a Human Process  และ The Fusion of Psychiatry and Social Science

ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของซัลลิแวน
                ซัลลิแวน เห็นว่า สังคมมีส่วนสำคัญต่อการสร้างบุคลิกภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่ส่งผลต่อการรับรู้ของตนเอง จนทำให้บุคคลปรับเปลี่ยนตนเองไปตามนั้น เขาจึงได้สร้างทฤษฎีชื่อ ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (The interpersonal Theory) โครงสร้างบุคลิกภาพจึงเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล บุคคลที่มีความสัมพันธ์ด้วยอาจมีชีวิตอยู่จริงบุคลิกภาพเป็นการทำงานประสานกันระหว่าง การแปรเปลี่ยนพลัง (Dynamics)  การสร้างภาพบุคคล(Personification) และกระบวนการคิด (Cognitive Process)
1.1. การแปรเปลี่ยนพลัง (Dynamics)  เป็นกระบวนการปรับตัวของบุคคล ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ถึงความต้องการของผู้อื่นแล้วแสดงพฤติกรรม ตอบสนองความต้องการของผู้อื่น ทั้งที่อาจไม่ได้ต้องการตามนั้น เช่น การแกล้งน้อง…ไม่ดี เด็กจะไม่ทำ ซึ่งจะค่อยๆหลอมรวมเป็นบุคลิกภาพ ซัลลิแวนเชื่อว่า ศูนย์กลสงการผันแปรอยู่ที่ระบบตน (Self System) อันเป็นระบบของการสร้างภาพตนเอง ทำให้รับรู้ตนเองใน 3 ลักษณะ คือ
           1. ภาพตนเองที่ว่า “ฉันดี” (Good Me) ซึ่งเป็นผลของประสบการณ์ที่รับการยอมรับจากการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ให้ความรู้สึกรักใคร่ อบอุ่น เอาใจใส่ ห่วงใย  ทำให้เกิดความพึงพอใจ
        2. ภาพตนเองที่ว่า “ฉันเลว” (Bad Me) เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการได้การอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง ไม่เอาใจใส่ ไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการ จึงทำให้เด็กเกิดความไม่พอใจ
       3. ภาพตนเองที่ว่า “ไม่ใช่ฉัน” (Not Me) เกิดจากการอบรมเลี้ยงดูแบบขู่เข็ญหรือทำให้หวาดกลัวอย่างรุนแรงทำให้เกิดความวิตกกังวลสูง จึงแสดงพฤติกรรมออกมาในเชิงปฏิเสธ
1.2  การสร้างภาพบุคคล (Personification) เป็นภาพที่บุคคลวาดขึ้นจากการที่ตนได้ไปสัมพันธ์กับคนอื่นภาพเหล่านี้อาจเป็นภาพของตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งเป็นภาพที่ถูกต้องหรือไม่ก็ได้
1.3 กระบวนการคิด (Cognitive Process) ซัลลิแวนเชื่อว่ากระบวนการคิดเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบุคลิกภาพเขาได้แบ่งกระบวนการคดออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
       1. โปรโตทาซิก (Prototaxic) เป็นกระบวนการคิดของทารกที่ยังไม่ได้ปรุงแต่ง รับรู้สิ่งต่างๆอย่างไม่เฉพาะเจาะจง ไม่เข้าใจความหมาย ผ่านไปแล้วผ่านไปเลย                 
       2. พาราทาซิก (Parataxic) เมื่อเด็กพัฒนาความคิดสูงขึ้นจะเริ่มเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระว่างสิ่งต่างๆทั้งจริงบ้างไม่จริงบ้างปนกันไป แต่ความคิดของเด็กถือว่าสิ่งที่คิดนั้นเป็นจริง
     3. ซินทาซิก (Syntaxic) เมื่อเด็กมีความสามารถทางภาษาเพิ่มขึ้นถึงขั้นใช้สัญลักษณ์แล้ว สภาพความเป็นจริงกับความจริงมากขึ้น สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ สื่อสารกับผู้อื่นได้เข้าใจ

2. การพัฒนาบุคลิกภาพ

ซัลลิแวนได้แบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพตามประสบการณ์เป็น 7  ขั้น คือ

1. ขั้นทารก (Infancy) อายุแรกเกิด -18 เดือน วัยนี้จะมีความสุข กับการใช้ปากในการตอบสนองความต้องการอาหารของตนเองด้วยการดูดหรือการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการใช้ประสาทตาสัมผัสกับมือในการดูดนิ้วตนเอง

2. ขั้นวัยเด็ก (Childhood) อายุ 18 เดือน - 5  เดือน เป็นระยะที่เริ่มหัดพูด ฝึกออกเสียงได้ชัดเจน เริ่มมีเพื่อนและต้องการให้ผู้อื่นยอมรับสถานภาพของตนเอง

3. ขั้นวัยเยาว์ (Juvenile Era) อายุระหว่าง 5-12 ปี เป็นวัยที่เข้าโรงเรียน พัฒนาการทางร่างกายเร็วมากเริ่มรู้จักสังคม มีการร่วมมือและแข่งขัน เรียนรู้ที่จะควบคุมตนอง

4. ขั้นก่อนวัยรุ่น (Pre- Adolescence) อายุ 11-13 ปี เริ่มมีวุฒิภาวะทางเพศ มีการกล้าแสดงออกมากขึ้นและยังต้องการความเท่าเทียมกับผู้ใหญ่

5. ขั้นวัยรุ่นตอนต้น (Early Adolescence) อายุระหว่าง 13- 17 ปี เป็นวัยที่มีความพอใจในเรื่องเพศ ต้องการคบเพื่อนเดียวกันและต่างเพศ ต้องการความเป็นอิสระไม่อยากพึ่งพาใคร

6. ขั้นวัยรุ่นตอนปลาย (Late Adolescence) อายุ 17-19 ปี ร่างกายเจริญเต็มที่ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้และเข้าใจตนเอง เรียนรู้บทบาทในสังคมได้ดี

7. ขั้นวัยผู้ใหญ่ (Adulthood) อายุระหว่าง 20-30 ปี เป็นวัยที่มีพัฒนาการทุกอย่างสมบูรณ์เต็มที่สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นสร้างหลักฐาน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่






















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น