วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

แนวความคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม ( Humanism )

แนวความคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม ( Humanism )

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism) ไว้ว่านักคิดกลุ่มมนุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณ ค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลมีอิสระภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี 2 ทฤษฏีและ 5 แนวคิด คือ

ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของ ผู้เรียน และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิด ประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง

ทฤษฎีการเรียนรู้ของโรเจอร์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน และการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย ครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตนและคอยช่วย เหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ เชื่อ ว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้ เรียน หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้จึงเน้นถึงความรู้สึกของผู้เรียนเป็น หลัก การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ได้ดี
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์ เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกสิ่งที่เรียนและวิธีเรียนด้วยตนเอง ลงมือกระทำและยอมรับผลของการตัดสินใจหรือการกระทำของตนเอง

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้อิสรภาพและเสรีภาพในการ เรียนรู้แก่ผู้เรียน

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช เชื่อว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่ หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการจัดการศึกษาต่อเนื่องไปตลอด ชีวิตไปตามธรรมชาติ

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติ หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น บริบูรณ์ด้วยความรัก มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้ คือ การให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่ผู้เรียนในการเรียน จัดให้เรียนเมื่อพร้อมจะเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามธรรมชาติ

แนวความคิดตามทฤษฎีของมาสโลว์ ( Maslow )


แนวความคิดตามทฤษฎีของอับราฮัม มาสโลว์ 



แนวความคิดนี้เป็นของมาสโลว์ (Maslow) ที่ได้อธิบายถึงลำดับความต้องการของมนุษย์โดยที่ความต้องการจะเป็น ตัวกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อไปสู่ความต้องการนั้น ดังนี้ถ้าเข้าใจความต้องการของมนุษย์ก็สามารถ ธิบายถึงเรื่องแรงจูงใจของมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน
ในเรื่องความต้องการ (Need) ของมนุษย์หากเรามีความเข้าใจเรื่องความต้องการของมนุษย์แล้วเราจะสามารถเข้าใจ พื้นฐานพฤติกรรมของมนุษย์ได้มากยิ่งขึ้น
ความต้องการของมนุษย์ตามแนวความคิดของมาสโลว์ (Maslow) มาสโลว์ ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้นเรียงตามลำดับ ดังนี้ 

ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกาย (Physiological Needs) คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต 

ขั้นที่ 2 ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) คือความต้องการที่จะมีชีวิต ที่มั่นคง ปลอดภัย 

ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Love and Belonging Needs) มนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้ตนเป็นที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่ 

ขั้นที่ 4 ความต้องการได้ รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs) เป็นความต้องการในลำดับต่อมา ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใจตนเอง 

ขึ้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง (Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการชั้นสูงของมนุษย์ ซึ่งน้อยคนที่จะประสบได้ถึงขั้นนี้  

              แนวความคิดของมาสโสว์ เป็นแนวความคิดที่ต้องการให้ทราบว่าความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เป็นอย่างไร เมื่อ ขั้นที่ 1 โดยหลักของท่าน ถ้า ขั้นที่ 1 ตอบสนองแก่ความต้องการได้ดี ขั้นที่2 -5 ก็จะตามมาเอง

แนวความคิดตามทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อ โดย อีริค เบอร์น ( Eric Berne )


แนวความคิดตามทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อ โดย อีริค เบอร์น ( Eric Berne )



ประวัติผู้ก่อตั้ง

อีริค เบอร์น(Eric Berne) เกิดวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ.1910 ที่เมืองมอนทรีอัล คิวเบค ประเทศแคนนาดา เดิมชื่อว่า เลนนาร์ด เบอร์นสไตลน์ พ่อของเบิร์น เดวิด ฮิลเลอร์ เบอร์นสไตน์ เป็นหมอ ส่วนแม่ของเบอร์น ซารา กอร์ดอน เบอร์นสไตน์ มีอาชีพเป็นนักเขียน เบอร์น มีพี่น้องคนเดียวคือ เกรซ น้องสาวซึ่งมีอายุน้อยกว่าเขา 5 ปี พ่อแม่ของเบอร์นอพยพมาจากรัสเซียและโปแลนด์. ทั้งพ่อและแม่ของเบอร์น จบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์, อีริค ซึ่งสนิทกับพ่อของเขามาก,ได้เล่าถึงการเป็นผู้ช่วยพ่อดูรักษาผู้ป่วย.คุณหมอเบอร์นสไตน์เสียชีวิตด้วยวัณโรคด้วยวัย38ปี.แม่ของเบอร์นของเสาหลักของครอบครัวหลังพ่อเขาเสียชีวิตเธอสนับสนุนให้เบอร์นเรียนด้านแพทย์เพื่อดำเนินรอยตามคุณหมอเบอร์นสไตน์พ่อของเบอร์น. เบอร์น จบแพทยศาสตร์ และศัลยศาสตร์จากวิทยาลัยการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ในปี 1935.  


แนวคิดที่สำคัญ

ภาวะตัวตน(EGO STATES) และความสัมพันธ์ (TRANSACTIONS)
การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นที่มาของความสัมพันธ์ (Transactions) ความสัมพันธ์หนึ่งๆจะแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ สิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response) โดยปกติแล้วความสัมพันธ์ส่วนบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์โดยรวม แต่ละด้านของความสัมพันธ์หรือผลของความสัมพันธ์อาจอยู่ในรูปของความสัมพันธ์ทางตรงไปตรงมา มีประสิทธิภาพ เหมาะสม หรืออ้อมค้อม สูญเปล่าและไม่เหมาะสม.  เมื่อบุคคลมีปฏิสัมพันธ์ พวกเขาจะแสดงในรูปของสภาวะตัวตน (Ego State) 3 ประเภทซึ่งแตกต่างกันไป. สภาวะตัวตนชัดเจนของความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม และสภาวะอัตตาแต่ละอย่างมีแหล่งที่มาจากแต่ละส่วนของสมอง. บุคคลสามารถแสดงพฤติกรรมจากสภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ (Parent Ego State). สภาวะตัวตนของเด็ก(Child ego State) หรือจาก สภาวะตัวตนของผู้ใหญ่ (Adult ego State). เช่นเดียวกัน พฤติกรรมของเราก็มาจากสภาวะตัวตนอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อย่างนี้.  


สภาวะตัวตนแบบเด็ก (Child Ego State)
เมื่อเราอยู่สภาวะตัวตนแบบเด็ก เราจะแสดงออกเหมือนเด็ก. ไม่ใช่แค่แสดงออกเท่านั้น เราจะคิด รู้สึก มอง ได้ยิน และตอบสนองราวกับเด็กอายุสามขวบ ห้าขวบ หรือแปดขวบ เมื่อเด็กมีความรู้สึกเกลียดหรือรัก ตื่นเต้น เป็นธรรมชาติ หรือชอบเล่นสนุก เราจะเรียกเด็กประเภทนี้ว่า เด็กตามธรรมชาติ (Natural Child) เป็นต้น


ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ (Parent ego State) ภาวะตัวแบบพ่อแม่มีลักษณะตรงกับข้ามกับภาวะตัวตนแบบเด็ก. ภาวะตัวตนแบบพ่อมีจะมีลักษณะเก็บจำล่วงหน้า ด่วนตัดสิน มีอคติล่วงหน้าในการดำรงชีวิต. เมื่อบุคคลอยู่ในภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ เขาจะคิด รู้สึก และแสดงออกเหมือนพ่อแม่หรือคนที่เขาถือเป็นแบบอย่าง. ภาวะตัวแบบพ่อแม่จะตัดสินใจ ว่าจะต้องสนองต่อเหตุการณ์อย่างไร อะไรดีหรือไม่ดี และบุคคลจะดำรงชีวิตอยู่อย่างไร โดยไม่จำเป็นต้องอิงอยู่กับหลักเหตุผล. ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่อาจแสดงออกในรูปของการตัดสิน ต่อต้าน ควบคุม หรือให้การสนับสนุนก็ได้

ภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่ (THE ADULT)
เมื่ออยู่ในภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่ (Adult ego state) บุคคลจะแสดงออกเหมือนคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามข้อมูลที่รวบรวมได้และเก็บข้อมูลและใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจตามโปรแกรมที่อิงตามหลักตรรกะ.เมื่ออยู่ในในภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่ บุคคลจะใช้ความคิดแบบตรรกะในการแก้ไขปัญหา  บุคคลอาจตั้งวัตถุประสงค์เอาไว้ว่า ฉันเป็นผู้ใหญ่และฉันก็มีอารมณ์ แบบนี้ใช่หรือไม่. การเป็นมนุษย์ที่มีวุฒิภาวะและเจริญเติบโตขึ้นไม่เหมือนกับการอยู่ในภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่. เด็กเล็กก็สามารถอยู่ในภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่ของพวกเขาได้ และปรับเปลี่ยนไปตามวัย พร้อมกับสามารถใช้ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่และเด็กได้ตลอดเวลาเช่นกัน











แนวความคิดตามทฤษฎีบุคลิกภาพของอีริค ฟรอมม์ ( Eric Fromm )

แนวความคิดตามทฤษฎีบุคลิกภาพของอีริค ฟรอมม์ ( Eric Fromm )



อีริค  ฟรอมม์เป็นนักทฤษฏีบุคลิกภาพที่มีพื้นฐานการศึกษาทางสังคมวิทยาและจิตวิทยาแล้วทำงานเป็นอาจารย์   จากพื้นฐานการศึกษาอย่างกว้างขว้างทางประวัติศาสตร์  สังคมวิทยา  วรรณคดีและปรัชญา เขาได้ทุ่มเทความสนใจเพื่ออธิบายความเห็นว่า  โครงสร้างของสังคมใดๆย่อมกล่อมเกลาบุคลิกภาพของสมาชิกให้เข้ากันได้กับค่านิยมส่วนรวมของสังคมนั้นๆ  หนังสือของฟรอมม์ได้รับการต้อนรับอย่างแพร่หลายจากนักอ่านทั่วโลก  นอกจากผู้ศึกษาสาขาจิตวิทยา  จิตแพทย์ สังคมวิทยา ปรัชญา และศาสนา ยังรวมทั้งผู้อ่านที่สนใจความรู้ทั่วๆไปด้วย


ประวัติ

อีริค ฟรอมม์เกิดที่เมืองฟรังก์เฟิร์ตเยอรมันเมื่อค.ศ.1900 ศึกษาที่มหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กสาขาจิตวิทยาและสังคมวิทยา ได้ปริญญาเอกเมื่อค.ศ.1922ต่อมาได้ฝึกฝนจิตวิเคราะห์ที่เมืองมิวนิคและที่  ปีค.ศ.1933เดินทางไปอเมริกาเป็นอาจารย์ผู้บรรยายวิชาจิตวิเคราะห์ที่ต่อมาย้ายไปอยู่นิวยอร์กเปิดคลินิกจิตวิเคราะห์ของตนเองได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายวิชานี้ในสถาบันการศึกษาหลายแห่งในอเมริกา

แนวคิดที่สำคัญ

แนวคิดของฟรอมม์สะท้อนให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลจากความคิดของคาร์ล  มาร์กซ์เป็นอย่างมาก  โดยเฉพาะจากหนังสือชื่อ ที่เขียนในปี1944  และหนังสือที่เขาเขียนพาดพิงเกี่ยวพันกับความคิดของมาร์กซ์โดยตรงมีหลายเล่มเช่น ฟรอมม์เปรียบเทียบความคิดของฟรอยด์กับมาร์กซ์และแสดงความชื่นชมความคิดของมาร์กซ์มากกว่าความคิดของฟรอยด์ จนฟรอมม์ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นนักทฤษฎีบุคลิกภาพแบบมาร์กซ์ แนวคิดที่สำคัญบางประการมีดังนี้

 ความอ้างว้างเดียวดาย

เรื่องนี้เป็นสาระที่ฟรอมม์อธิบายมาก  เขาเชื่อว่ามนุษย์ยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับความอ้างว้างเดียวดายด้วยสาเหตุหลายประการเช่น
1. การที่มนุษย์มีเหตุผลและจินตนาการต่างๆทำให้มนุษย์มีวิวัฒนาการทางอารยธรรมเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันก็แยกตัวเหินห่างจากธรรมชาติ จากสัตว์โลกพวกอื่นๆและจากบุคคลอื่นๆ
2. มนุษย์แสวงหาอิสระเสรีทุกขั้นตอนของกระบวนการพัฒนา เมื่อได้มาแล้วก็จำต้องแลกเปลี่ยนด้วยความอ้างว้าง  ตัวอย่างเช่น เด็กวัยรุ่นที่เป็นอิสระพ้นจากความดูแลพ่อแม่ผู้ปกครอง จะพบว่าตัวเองเผชิญความว้าเหว่
3.พัฒนาการทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ในวัตถุใช้สอยประจำวัน เช่นเครื่องมือเพื่อความบันเทิง เครื่องทุ่นแรงในการทำงาน  ทำให้มนุษย์มีความสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อยลง เมื่อต้องติดต่อพูดจาก็มีท่าทีห่างเหินไว้ตัวฟรอมม์เสนอ  ทางแก้ความอ้างว้าง ประการคือ

1.สร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนมนุษย์บนพื้นฐานความรักสร้างสรรค์ ( productive Love ) ซึ่งได้แก่
ความเอื้ออาทรต่อกัน
ความรับผิดชอบต่อกันและกัน
ความนับถือซึ่งกันและกัน
ความเข้าใจซึ่งกันและกัน

2.ยอมตนอ่อนน้อมและทำตัวคล้อยตามสังคม
ฟรอมม์มีความเห็นว่ามนุษย์เราใช้เสรีภาพสร้างสังคมให้ดีขึ้นได้ตามข้อเสนอข้อแรก ส่วนการแก้ไขความอ้างว้างด้วยการทำตัวคล้อยตามสังคมตามข้อเสนอข้อหลังเขาเห็นว่าเป็นการเข้าสู่ความเป็นทาสรูปแบบใหม่นั่นเอง   ในหนังสือ Escape from Freedom ที่เขาเขียนในปี1941 ขณะลัทธินาซีกำลังรุ่งโรจน์ เขาชี้ให้เห็นว่าลัทธิเผด็จการเบ็ดเสร็จนั้นถูกใจคนหมู่มากเพราะมันเสนอจะให้ความมั่นคง ( แก่ผู้รู้สึกอ้างว้าง ) ความต้องการ ฟรอมม์กล่าวว่ามนุษย์มีความต้องการ5ประการคือ

1.ความต้องการมีสัมพันธภาพ

                เนื่องจากมนุษย์พบกับความอ้างว้างเดียวดายตามเหตุที่ได้กล่าวมาจึงต้องแก้ไขด้วยการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่นๆ วิธีที่ดีงามต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความรักแบบสร้างสรรค์(ความเอื้ออาทรต่อกัน/ความรับผิดชอบต่อกันและกัน/ความนับถือซึ่งกันและกัน/ความเข้าใจซึ่งกันและกัน

2.ความต้องการสร้างสรรค์

เนื่องจากมนุษย์มีความสามารถทางสติปัญญาและอารมณ์สูง จึงมีความต้องการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมของชีวิตแตกต่างกับสัตว์โลกชั้นต่ำ  หากผู้ใดไม่มีความต้องการประเภทนี้ก็มักจะเป็นนักทำลาย เป็นอันตรายต่อผู้อื่นและสังคม

3.ความต้องการมีสังกัด

คือความต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว/ของสังคม/ของโลกความต้องการประเภทนี้ที่น่าพึงพอใจและถูกต้องคือการมีไมตรีจิตกับเพื่อนมนุษย์โดยทั่วไป

4.ความต้องการมีอัตลักษณ์แห่งตน

คือความต้องการจะเป็นตัวของตัวเอง ความต้องการที่จะรู้จักว่าตัวเองเป็นใคร

5.ความต้องการมีหลักยึดเหนี่ยว

คือความต้องการที่จะมีหลักสำหรับอ้างอิงความถูกต้องในการกระทำของตนเช่น คำกล่าวอ้างว่า—ฉันทำอย่างนี้เพราะหัวหน้าสั่งให้ทำหรือ—ฉันต้องมีรถยนต์เพราะไปทำธุระสะดวกขึ้น/  ข้ออ้างเหล่านี้อาจสมเหตุสมผลหรือไม่ก็ได้






















แนวความคิดตามทฤษฎีบุคลิกภาพของฮอร์นาย คาเรน ฮอร์นาย ( Karen Horney )


แนวความคิดตามทฤษฎีบุคลิกภาพของฮอร์นาย คาเรน ฮอร์นาย (  Karen Horney  )

ทฤษฎีของ Karen Horney

แนวความคิดของ Karen Horney คาร์เรน ฮอร์เนย์ ( 1885 – 1952 ) นักจิตวิเคราะห์ คาร์เรน ฮอร์เนย์ ได้อธิบายว่ามนุษย์มีความต้องการดังนี้

1.       ความต้องการใฝ่สัมพันธ์และการยอมรับยกย่อง ความต้องการที่ไม่แยกแยะ การที่ทำให้ผู้อื่นพอใจและให้เขายอมรับตนเอง ( affection and approval )

2.       ความต้องการคู่ และต้องการให้มีผู้ที่ดูแลคุ้มครองตนเอง ต้องการความรัก ( partner )

3.       ความต้องการจำกัดตนเองในวงแคบ ให้มีคนคอยสั่ง ( restrict one's life to narrow borders )

4.       ความต้องการอำนาจ ที่จะควบคุมผู้อื่น ( need for power, for control over others )

5.       ความต้องการมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น ( to exploit others and get the better of them )

6.       ความต้องการการยอมรับทางสังคม ความภาคภูมิใจ ( social recognition or prestige )

7.       ความต้องการได้รับการชื่นชมโดยส่วนตัว ต้องการเป็นคนสำคัญ มีค่า ( personal admiration )

8.       ความต้องการความสำเร็จ ต้องการเป็นที่ 1 ( personal achievement )

9.       ความต้องการความเป็นอิสระ ( self-sufficiency and independence )

10.   ความต้องการความสมบูรณ์สุด ( perfection and unassailability )
เธอเสนอว่ามนุษย์แบ่งออกได้เป็นสามประเภท ตามพื้นฐานของความวิตกกังวลและอาการ











แนวความคิดตามทฤษฎีตัวตนของโรเจอร์ ( Roger's Self Theory )

แนวความคิดตามทฤษฎีตัวตนของโรเจอร์ ( Roger's Self Theory )


คาร์ล โรเจอร์ส (Carl Rogers) มีความเห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์เป็นสิ่งที่ดีและมีความสำคัญมาก โดยมีความพยายามที่จะพัฒนาร่างกายให้มีความเจริญเติบโตอย่างมีศักยภาพสูงสุด โรเจอร์ส ตั้งทฤษฏีขึ้นมาจากการศึกษาปัญหาพฤติกรรมของคนไข้จากคลินิกการักษาคนไข้ของเขา และได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพที่เกิดจากสุขภาพเป็นอย่างมาก ทฤษฏีของโรเจอร์เน้นถึงเกียรติของบุคคล ซึ่งบุคคลมีความสามารถที่จะทำการปรับปรุงชีวิตของตนเองเมื่อมีโอกาสเข้ามิใช่จะเป็นเพียงแต่เหยื่อในขณะที่มีประสบการณ์ในสมัยที่เป็นเด็ก หรือจากแรงขับของจิตใต้สำนึก แต่ละบุคคลจะรู้จักการสังเกตสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา โดยมีแนวทางเฉพาะของบุคคล กล่าวได้ว่า เป็นการับรู้สภาพสิ่งแวดล้อมซึ่งมีความสำคัญมาก โรเจอร์ เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีตัวตน 3 แบบ

1.       ตนที่ตนมองเห็น (Self Concept) ภาพที่ตนเห็นเองว่าตนเป็นอย่างไร มีความรู้ความสามารถ ลักษณะเพราะตนอย่างไร เช่น สวย รวย เก่ง ต่ำต้อย ขี้อายฯลฯ การมองเห็นอาจจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงหรือภาพที่คนอื่นเห็น
2.       ตนตามที่เป็นจริง (Real Self) ตัวตนตามข้อเท็จจริง แต่บ่อยครั้งที่ตนมองไม่เห็นข้อเท็จจริง เพราะอาจเป็นสิ่งที่ทำ ให้รู้สึกเสียใจ ไม่เท่าเทียมกับบุคคลอื่น เป็นต้น

3.       ตนตามอุดมคติ (Ideal Self) ตัวตนที่อยากมีอยากเป็น แต่ยังไม่มีไม่เป็นในสภาวะปัจจุบัน เช่น ชอบเก็บตัว แต่อยากเก่งเข้าสังคม เป็นต้น

ถ้าตัวตนทั้ง 3 ลักษณะ ค่อนข้างตรงกันมาก จะทำให้มีบุคลิกภาพมั่นคง แต่ถ้าแตกต่างกันสูง จะมีความสับสนและอ่อนแอด้านบุคลิกภาพ

โรเจอร์วางหลักไว้ว่า บุคคลถูกกระตุ้นโดยความต้องการสำหรับการยอมรับนับถือทางบวก นั่นคือความต้องการความรัก การยอมรับและความมีคุณค่า บุคคลเกิดมาพร้อมกับความต้องการการยอมรับนับถือในทางบวก และจะได้รับการยอมรับนับถือ โดยอาศัยการศึกษาจากการดำเนินชีวิตตามมาตรฐานของบุคคลอื่น

ทฤษฏีของโรเจอร์กล่าวว่า “ตนเอง” (Self) คือการรวมกันของรูปแบบค่านิยม เจตคติการรับรู้และความรู้สึก ซึ่งแต่ละบุคคลมีอยู่และเชื่อว่าเป็นลักษณะเฉพาะของเขาเอง ตนเองหมายถึงฉันและตัวฉัน เป็นศูนย์กลางที่รวมประสบการณ์ทั้งหมดของแต่ละบุคคล ภาพพจน์นี้เกิดจากการที่แต่ละบุคคลมีการเรียนรู้ตั้งแต่วัยเริ่มแรกชีวิต สำหรับบุคคลที่มีการปรับตัวดีก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างคงที่และมีการปรับตัวตามประสบการณ์ที่แต่ละคนมีการสังเกตและการรับรู้เป็นเรื่องของตนเองที่ปรับให้เข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ตัวอย่าง เช่น พนักงานบางคนมีการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพต่อสภาพสิ่งแวดล้อมในการทำงานและการเป็นผู้นำ


แนวความคิดตามทฤษฎีจิตวิทยารายบุคคล อัลเฟรด แอดเลอร์


แนวความคิดตามทฤษฎีจิตวิทยารายบุคคล อัลเฟรด แอดเลอร์




ทฤษฏีบุคลิกภาพของแอแดเลอร์ (Adler’s Personality Theory)

อัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler) เป็นจิตแพทย์ที่ได้ค้นคว้าและพัฒนาบุคลิกภาพขึ้นมาใหม่ เรียกว่า จิตวิทยาปัจเจกชน (Individual psychology)
            แอดเลอร์มีความเชื่อว่า บุคคลโดยพื้นฐานแล้วจะถูกจูงใจโดยปมด้อย บุคคลบางคนมีความรู้สึกเป็นปมด้อยเมื่อมีร่างกายพิการ และมีความต้องการที่จะทำการชดเชยปมด้อยเหล่านี้ ความรู้สึกที่ตนมีปมด้อยทำให้เกิดแรงขับที่เรียกว่า ปมเด่น เช่น นักกวีชาวอังกฤษ ลอร์ด ไบรอน (Lord Byron) ขาพิการเป็นแชมป์เปี้ยนว่ายน้ำ บีโซเวน (Beethoven) หูพิการได้สร้างตนเองจนได้รับความสำเร็จเป็นนักดนตรีเอกของโลก แนวความคิดพื้นฐานที่สำคัญเกี่ยวกับบุคลิกภาพของแอดเลอร์มาจากคลินิกรักษาคนไข้โรคจิต คนไข้ของเขามีทั้งศิลปินและนักกายกรรม ซึ่งมาเปิดการแสดงที่สวนสาธารณะบริเวณใกล้ๆคลินิก แอดเลอร์พบว่าคนไข้ที่เข้ามารักษาตัวส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จและมีพละกำลังสมบูรณ์แข็งแรง แต่เมื่อสืบประวัติจะพบว่าคนไข้เหล่านี้เป็นเด็กอ่อนแอและเจ็บป่วยบ่อยๆ ในสมัยเมื่อเป็นเด็ก แต่ปัจจุบันกลับเอาชนะความอ่อนแอเหล่านี้ได้ จุดนี้เองทำให้แอดเลอร์สนใจศึกษาแนวความคิดในเรื่องการได้รับความสำเร็จจากการชดเชยความรู้สึกด้อยของบุคคลเหล่านี้

แนวความคิดที่สำคัญ

แนวความคิดที่สำคัญของแอดเลอร์มีไม่มากนัก แต่ได้รับการยกย่องว่ามีสาระลึกซึ้งเป็นแนวคิดที่ผิดแปลกจากนักปรัชญาคนอื่นๆ เช่น ฟรอยด์ มีความเห็นว่าพฤติกรรมส่วนมากของมนุษย์ถูกกระตุ้นจากสัญชาตญาณอันมีมาแต่เกิด โดยเฉพาะแรงกระตุ้นทางเพศและก้าวร้าว จุง เห็นว่าสิ่งที่สะสมอยู่ในจิตไร้สำนึกจะมีส่วนสำคัญในการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์แอดเลอร์ มีความเห็นว่าพฤติกรรมและบุคลิกภาพของมนุษย์ได้รับการเร่งเร้าจากลักษณะสัมพันธภาพระหว่างบุคคลกีบเพื่อนมนุษย์หรือกับพฤติกรรมสังคมเป็นสำคัญ แนวความคิดแอดเลอร์ สรุปดังนี้

1.ประสบการณ์ในวัยเด็ก

แอดเลอร์ เน้นการอบรมเลี้ยงดูในระยะ 5 ปี แรกของชีวิต ซึ่งจะเป็นระยะที่สำคัญที่สุกต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ โดยแอดเลอร์กล่าวว่า เจตคติที่พ่อแม่มีต่อเด็กและสัมพันธภาพภายในครอบครัวจะมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก เช่น เด็กที่ถูกตามใจจนเสียคนเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่มักปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ยาก เพราะมักทำอะไรตามใจตัวเองตั้งแต่เด็ก เด็กที่พ่อแม่ทะนุถนอมหรือตามใจลูกมากเกินไป ย่อมอจะทำให้ลูกหมดโอกาสที่จะเรียนรู้ในการต่อสู้เพื่อบรรลุถึงความเด่นอันเป็นจุดหมายที่คนเราปรารถนา เป็นต้น

2.ความปรารถนามีปมเด่นและมีความรู้สึกมีปมด้อย

แอดเลอร์ มีความเห็นว่ามนุษย์ทุกคนมีแรงจูงใจที่สำคัญอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งครอบงำพฤติกรรมส่วนใหญ่และลักษณะของบุคลิกของตน ซึ่งมีความปรารถนาที่จะมีปมเด่น (Striving for Superiority) ทุกคนอยากความเด่นสักอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละคนแต่ละวัย แต่ละช่วงอายุ  แอดเลอร์มีความเชื่อว่า ปมด้อยและความปรารถนาจะเด่นเป็นแรงผลักดันอันสำคัญยิ่งที่ทำให้คนประพฤติในพฤติกรรมต่างๆ หรือสร้างชีวิตให้มีความหมาย ทั้งปมด้อย และการสร้างปมเด่นเพื่อชดเชยปมด้อยก็ไม่ใช่สิ่งผิดปกติด้วย แต่ก็ไม่ใช่ความสุขสบายเสมอไป แอดเลอร์เชื่อว่าสาระสำคัญของชีวิตคือการแสวงหาความสุขให้แก่ตนเองมากกว่าการแสวงหาในด้านอื่นๆ

3.ลำดับที่ของการเกิดมีผลต่อบุคลิกภาพ 

แอดเลอร์ย้ำลำดับที่ของการเกิดทั้งเจตคติที่พ่อแม่มีต่อบุตรย่อมมีความหมายต่อบุคลิกภาพของบุคคลเป้นอย่างยิ่ง ถึงแม้วเราจะเป็นลูกคนที่เท่าใดก็ตาม ถ้าพ่อแม่สามารถทำให้ลูกรู้ว่าลุกทุกคนเป็นที่ต้องการของพ่อแม่ ให้ความยุติธรรมไม่ลำเอียงต่อลูก ลูกย่อมเกิดความรู้สึกอบอุ่น ยอมรับนับถือตนเองและมีความเชื่อมั่นในตนเองเกิดขึ้น












แนวคิดตามทฤษฎีจิตวิทยาเชิงวิเคราะห์ของจุง ( Jung's Analytical Psychology )


แนวคิดตามทฤษฎีจิตวิทยาเชิงวิเคราะห์ของจุง ( Jung's Analytical Psychology )



คาร์ล กูสตาฟว์ จุง (Carl Gustav Jung) เป็นบุคคลหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับ ซิกมันด์ ฟรอยด์ และยอมรับแนวความคิดของฟรอยด์ที่ว่าพฤติกรรมของคนเราเกิดจากแรงจูงใจของจิตใต้สำนึก แต่ไม่เหมือนกับแนวความคิดของฟรอยด์ จุงเชื่อว่าเป็นเรื่องอำนาจ อภินิหาร ความฝัน และจิตวิญญาณ และเน้นว่าแต่ละบุคคลพยายามจะพัฒนาศักยภาพของเขาอย่างเต็มที่ จุงไม่เห็นด้วยกับฟรอยด์ในเรื่องส่วนประกอบขั้นพื้นฐานของบุคลิกภาพ จุงเชื่อว่าบุคลิกภาพของคนเราแต่ละคนมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวนั้น มีการสะสมต่อเนื่องมาตลอดนับแต่เริ่มมีชีวิต แต่เขาไม่สู้จะให้ความสำคัญกับเรื่องเพศและอดีตที่ฝังใจเหมือนทฤษฎีของฟรอยด์ เขาเน้นความสำคัญที่ประสบการณ์จากการดำเนินชีวิตของคนเรา โดยเห็นว่ามีส่วนสร้างสมบุคคลมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วบุคลิกภาพของบุคคลแบ่งเป็น 3  แบบ

1. บุคลิกภาพแบบแสดงตัว (extrovert) บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบนี้จะชอบสังคม ชอบเด่น ชอบแต่งตัวดีๆ
ชอบนำตัวไปพัวพันกับสิ่งแวดล้อมหรือกับบุคคลอื่นโดยทั่วไป เป็นคนเปิดเผย ชอบการเปลี่ยนแปลง ไม่ชอบเก็บตัว ไม่ชอบอะไรที่ซ้ำซากจำเจ เปลี่ยนแปลงความเคยชินหรือลักษณะนิสัยของตนเองได้ง่ายเพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป  การแสดงออกของอารมณ์เห็นได้ชัดเจน ไม่ว่าจะโกรธ เศร้าโศก ดีใจ เสียใจ หรือเบื่อหน่ายอะไร มีอารมณ์อ่อนไหวเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มีอุปนิสัยที่เปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดความคับข้องใจมักมีพฤติกรรมในรูปของการป้องกันตัว ( Defense ) 


2. บุคลิกภาพแบบเก็บตัว (introvert) บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบนี้มักทำหรือคิดโดยผูกพันกับตนเองมากกว่า
บุคคลอื่นหรือสิ่งแวดล้อมอื่น เป็นคนลึกลับ ชอบเก็บตัว ไม่ชอบสังสรรค์ ไม่ชอบสังคม ไม่ชอบทำตัวเด่นเมื่ออกงาน ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ชอบทำอะไรตามกฎเกณฑ์และแบบแผนที่วางเอาไว้ มีหลักการที่แน่นอนในการที่จะควบคุมตนเองเมื่อเกิดความคับข้องใจมักมีพฤติกรรมแบบหลบหนีแยกตัวออกไปจากสังคม (Isolation)

3. บุคลิกแบบกลางๆ (ambivert) บุคคลบางคนไม่ถึงกับโน้มเอียงไปในลักษณะใดลักษณะหนึ่งโดยเฉพาะ
คือ เป็นกลางๆ ไม่ชอบเก็บตัวมากไปและไม่ชอบแสดงออกมากไป ซึ่งจะเป็นคนแบบธรรมดาๆ ไม่เด่น เป็นพวกที่ผสมผสานอยู่ในคนส่วนใหญ่ทั่วไป
คือ เป็นกลางๆ ไม่ชอบเก็บตัวมากไปและไม่ชอบแสดงออกมากไป ซึ่งจะเป็นคนแบบธรรมดาๆ ไม่เด่น เป็นพวกที่ผสมผสานอยู่ในคนส่วนใหญ่ทั่วไป


































แนวคิดตามทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล แฮรี่ สแตค ซัลลิแวน ( Harry Stack Sullivan )


แนวคิดตามทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล แฮรี่ สแตค ซัลลิแวน ( Harry Stack Sullivan )

ประวัติ
            แฮรี่ สแต็ค ซัลลิแวน (Harry Stack Sullivan)   เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์  ค.ศ. 1895 ที่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา และเสียชีวิตในเดือนมกราคม ค.ศ. 1949 รวมอายุ 55 ปี ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ของชิคาโกและเข้าเป็นแพทย์ทหารในสงครามครั้งที่ 2 เมื่อสงครามยุติได้เข้าทำงานเป็นแพทย์ในสถาบันต่างๆ ต่อมาได้เข้าทำงานที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ ซึ่งเป็นช่วงที่เขาได้ศึกษาโรคจิตเภทที่มีจำนวนมากในขณะนั้นซัลลิแวนเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักกล่าวสุนทรพจน์ทางจิตเวชเป็นผู้นำในการฝึกฝนจิตแพทย์ในด้านบุคลิกภาพ เขาได้ตั้งทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (The interpersonal Theory of Psychiatry) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1929 และสำเร็จในกลางปี ค.ศ. 1930 ตลอดชีวิตมีผลงานเล่มเดียว คือ ทฤษฎีบุคลิกภาพ ซึ่งพิมพ์ในปี ค.ศ. 1947 ผลงานที่เหลือได้รับการตีพิมพ์หลังเขาเสียชีวิตแล้วโดยเพื่อนของเขานำออกตีพิมพ์ เช่น Psychiatric  Interview , Clinical  Studies in  Psychiatry , Schizophrenia as a Human Process  และ The Fusion of Psychiatry and Social Science

ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของซัลลิแวน
                ซัลลิแวน เห็นว่า สังคมมีส่วนสำคัญต่อการสร้างบุคลิกภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่ส่งผลต่อการรับรู้ของตนเอง จนทำให้บุคคลปรับเปลี่ยนตนเองไปตามนั้น เขาจึงได้สร้างทฤษฎีชื่อ ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (The interpersonal Theory) โครงสร้างบุคลิกภาพจึงเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล บุคคลที่มีความสัมพันธ์ด้วยอาจมีชีวิตอยู่จริงบุคลิกภาพเป็นการทำงานประสานกันระหว่าง การแปรเปลี่ยนพลัง (Dynamics)  การสร้างภาพบุคคล(Personification) และกระบวนการคิด (Cognitive Process)
1.1. การแปรเปลี่ยนพลัง (Dynamics)  เป็นกระบวนการปรับตัวของบุคคล ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ถึงความต้องการของผู้อื่นแล้วแสดงพฤติกรรม ตอบสนองความต้องการของผู้อื่น ทั้งที่อาจไม่ได้ต้องการตามนั้น เช่น การแกล้งน้อง…ไม่ดี เด็กจะไม่ทำ ซึ่งจะค่อยๆหลอมรวมเป็นบุคลิกภาพ ซัลลิแวนเชื่อว่า ศูนย์กลสงการผันแปรอยู่ที่ระบบตน (Self System) อันเป็นระบบของการสร้างภาพตนเอง ทำให้รับรู้ตนเองใน 3 ลักษณะ คือ
           1. ภาพตนเองที่ว่า “ฉันดี” (Good Me) ซึ่งเป็นผลของประสบการณ์ที่รับการยอมรับจากการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ให้ความรู้สึกรักใคร่ อบอุ่น เอาใจใส่ ห่วงใย  ทำให้เกิดความพึงพอใจ
        2. ภาพตนเองที่ว่า “ฉันเลว” (Bad Me) เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการได้การอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง ไม่เอาใจใส่ ไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการ จึงทำให้เด็กเกิดความไม่พอใจ
       3. ภาพตนเองที่ว่า “ไม่ใช่ฉัน” (Not Me) เกิดจากการอบรมเลี้ยงดูแบบขู่เข็ญหรือทำให้หวาดกลัวอย่างรุนแรงทำให้เกิดความวิตกกังวลสูง จึงแสดงพฤติกรรมออกมาในเชิงปฏิเสธ
1.2  การสร้างภาพบุคคล (Personification) เป็นภาพที่บุคคลวาดขึ้นจากการที่ตนได้ไปสัมพันธ์กับคนอื่นภาพเหล่านี้อาจเป็นภาพของตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งเป็นภาพที่ถูกต้องหรือไม่ก็ได้
1.3 กระบวนการคิด (Cognitive Process) ซัลลิแวนเชื่อว่ากระบวนการคิดเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบุคลิกภาพเขาได้แบ่งกระบวนการคดออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
       1. โปรโตทาซิก (Prototaxic) เป็นกระบวนการคิดของทารกที่ยังไม่ได้ปรุงแต่ง รับรู้สิ่งต่างๆอย่างไม่เฉพาะเจาะจง ไม่เข้าใจความหมาย ผ่านไปแล้วผ่านไปเลย                 
       2. พาราทาซิก (Parataxic) เมื่อเด็กพัฒนาความคิดสูงขึ้นจะเริ่มเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระว่างสิ่งต่างๆทั้งจริงบ้างไม่จริงบ้างปนกันไป แต่ความคิดของเด็กถือว่าสิ่งที่คิดนั้นเป็นจริง
     3. ซินทาซิก (Syntaxic) เมื่อเด็กมีความสามารถทางภาษาเพิ่มขึ้นถึงขั้นใช้สัญลักษณ์แล้ว สภาพความเป็นจริงกับความจริงมากขึ้น สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ สื่อสารกับผู้อื่นได้เข้าใจ

2. การพัฒนาบุคลิกภาพ

ซัลลิแวนได้แบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพตามประสบการณ์เป็น 7  ขั้น คือ

1. ขั้นทารก (Infancy) อายุแรกเกิด -18 เดือน วัยนี้จะมีความสุข กับการใช้ปากในการตอบสนองความต้องการอาหารของตนเองด้วยการดูดหรือการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการใช้ประสาทตาสัมผัสกับมือในการดูดนิ้วตนเอง

2. ขั้นวัยเด็ก (Childhood) อายุ 18 เดือน - 5  เดือน เป็นระยะที่เริ่มหัดพูด ฝึกออกเสียงได้ชัดเจน เริ่มมีเพื่อนและต้องการให้ผู้อื่นยอมรับสถานภาพของตนเอง

3. ขั้นวัยเยาว์ (Juvenile Era) อายุระหว่าง 5-12 ปี เป็นวัยที่เข้าโรงเรียน พัฒนาการทางร่างกายเร็วมากเริ่มรู้จักสังคม มีการร่วมมือและแข่งขัน เรียนรู้ที่จะควบคุมตนอง

4. ขั้นก่อนวัยรุ่น (Pre- Adolescence) อายุ 11-13 ปี เริ่มมีวุฒิภาวะทางเพศ มีการกล้าแสดงออกมากขึ้นและยังต้องการความเท่าเทียมกับผู้ใหญ่

5. ขั้นวัยรุ่นตอนต้น (Early Adolescence) อายุระหว่าง 13- 17 ปี เป็นวัยที่มีความพอใจในเรื่องเพศ ต้องการคบเพื่อนเดียวกันและต่างเพศ ต้องการความเป็นอิสระไม่อยากพึ่งพาใคร

6. ขั้นวัยรุ่นตอนปลาย (Late Adolescence) อายุ 17-19 ปี ร่างกายเจริญเต็มที่ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้และเข้าใจตนเอง เรียนรู้บทบาทในสังคมได้ดี

7. ขั้นวัยผู้ใหญ่ (Adulthood) อายุระหว่าง 20-30 ปี เป็นวัยที่มีพัฒนาการทุกอย่างสมบูรณ์เต็มที่สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นสร้างหลักฐาน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่