แนวคิดตามทฤษฎีจิตวิทยาเชิงวิเคราะห์ของจุง ( Jung's Analytical Psychology )
คาร์ล
กูสตาฟว์ จุง (Carl Gustav Jung) เป็นบุคคลหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับ
ซิกมันด์ ฟรอยด์ และยอมรับแนวความคิดของฟรอยด์ที่ว่าพฤติกรรมของคนเราเกิดจากแรงจูงใจของจิตใต้สำนึก
แต่ไม่เหมือนกับแนวความคิดของฟรอยด์ จุงเชื่อว่าเป็นเรื่องอำนาจ อภินิหาร ความฝัน
และจิตวิญญาณ และเน้นว่าแต่ละบุคคลพยายามจะพัฒนาศักยภาพของเขาอย่างเต็มที่
จุงไม่เห็นด้วยกับฟรอยด์ในเรื่องส่วนประกอบขั้นพื้นฐานของบุคลิกภาพ จุงเชื่อว่าบุคลิกภาพของคนเราแต่ละคนมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวนั้น มีการสะสมต่อเนื่องมาตลอดนับแต่เริ่มมีชีวิต
แต่เขาไม่สู้จะให้ความสำคัญกับเรื่องเพศและอดีตที่ฝังใจเหมือนทฤษฎีของฟรอยด์ เขาเน้นความสำคัญที่ประสบการณ์จากการดำเนินชีวิตของคนเรา
โดยเห็นว่ามีส่วนสร้างสมบุคคลมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วบุคลิกภาพของบุคคลแบ่งเป็น
3 แบบ
1. บุคลิกภาพแบบแสดงตัว (extrovert) บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบนี้จะชอบสังคม ชอบเด่น ชอบแต่งตัวดีๆ
ชอบนำตัวไปพัวพันกับสิ่งแวดล้อมหรือกับบุคคลอื่นโดยทั่วไป
เป็นคนเปิดเผย ชอบการเปลี่ยนแปลง ไม่ชอบเก็บตัว ไม่ชอบอะไรที่ซ้ำซากจำเจ
เปลี่ยนแปลงความเคยชินหรือลักษณะนิสัยของตนเองได้ง่ายเพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป การแสดงออกของอารมณ์เห็นได้ชัดเจน ไม่ว่าจะโกรธ เศร้าโศก ดีใจ เสียใจ
หรือเบื่อหน่ายอะไร มีอารมณ์อ่อนไหวเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
มีอุปนิสัยที่เปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดความคับข้องใจมักมีพฤติกรรมในรูปของการป้องกันตัว
( Defense )
2. บุคลิกภาพแบบเก็บตัว (introvert) บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบนี้มักทำหรือคิดโดยผูกพันกับตนเองมากกว่า
บุคคลอื่นหรือสิ่งแวดล้อมอื่น เป็นคนลึกลับ ชอบเก็บตัว ไม่ชอบสังสรรค์ ไม่ชอบสังคม ไม่ชอบทำตัวเด่นเมื่ออกงาน ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ชอบทำอะไรตามกฎเกณฑ์และแบบแผนที่วางเอาไว้ มีหลักการที่แน่นอนในการที่จะควบคุมตนเองเมื่อเกิดความคับข้องใจมักมีพฤติกรรมแบบหลบหนีแยกตัวออกไปจากสังคม (Isolation)
บุคคลอื่นหรือสิ่งแวดล้อมอื่น เป็นคนลึกลับ ชอบเก็บตัว ไม่ชอบสังสรรค์ ไม่ชอบสังคม ไม่ชอบทำตัวเด่นเมื่ออกงาน ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ชอบทำอะไรตามกฎเกณฑ์และแบบแผนที่วางเอาไว้ มีหลักการที่แน่นอนในการที่จะควบคุมตนเองเมื่อเกิดความคับข้องใจมักมีพฤติกรรมแบบหลบหนีแยกตัวออกไปจากสังคม (Isolation)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น