แนวความคิดตามทฤษฎีบุคลิกภาพของอีริค ฟรอมม์ ( Eric Fromm )
อีริค
ฟรอมม์เป็นนักทฤษฏีบุคลิกภาพที่มีพื้นฐานการศึกษาทางสังคมวิทยาและจิตวิทยาแล้วทำงานเป็นอาจารย์
จากพื้นฐานการศึกษาอย่างกว้างขว้างทางประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา วรรณคดีและปรัชญา
เขาได้ทุ่มเทความสนใจเพื่ออธิบายความเห็นว่า โครงสร้างของสังคมใดๆย่อมกล่อมเกลาบุคลิกภาพของสมาชิกให้เข้ากันได้กับค่านิยมส่วนรวมของสังคมนั้นๆ
หนังสือของฟรอมม์ได้รับการต้อนรับอย่างแพร่หลายจากนักอ่านทั่วโลก
นอกจากผู้ศึกษาสาขาจิตวิทยา จิตแพทย์
สังคมวิทยา ปรัชญา และศาสนา ยังรวมทั้งผู้อ่านที่สนใจความรู้ทั่วๆไปด้วย
ประวัติ
อีริค ฟรอมม์เกิดที่เมืองฟรังก์เฟิร์ตเยอรมันเมื่อค.ศ.1900 ศึกษาที่มหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กสาขาจิตวิทยาและสังคมวิทยา
ได้ปริญญาเอกเมื่อค.ศ.1922ต่อมาได้ฝึกฝนจิตวิเคราะห์ที่เมืองมิวนิคและที่ ปีค.ศ.1933เดินทางไปอเมริกาเป็นอาจารย์ผู้บรรยายวิชาจิตวิเคราะห์ที่ต่อมาย้ายไปอยู่นิวยอร์กเปิดคลินิกจิตวิเคราะห์ของตนเองได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายวิชานี้ในสถาบันการศึกษาหลายแห่งในอเมริกา
แนวคิดที่สำคัญ
แนวคิดของฟรอมม์สะท้อนให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลจากความคิดของคาร์ล
มาร์กซ์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจากหนังสือชื่อ
ที่เขียนในปี1944 และหนังสือที่เขาเขียนพาดพิงเกี่ยวพันกับความคิดของมาร์กซ์โดยตรงมีหลายเล่มเช่น
ฟรอมม์เปรียบเทียบความคิดของฟรอยด์กับมาร์กซ์และแสดงความชื่นชมความคิดของมาร์กซ์มากกว่าความคิดของฟรอยด์
จนฟรอมม์ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นนักทฤษฎีบุคลิกภาพแบบมาร์กซ์ แนวคิดที่สำคัญบางประการมีดังนี้
ความอ้างว้างเดียวดาย
เรื่องนี้เป็นสาระที่ฟรอมม์อธิบายมาก
เขาเชื่อว่ามนุษย์ยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับความอ้างว้างเดียวดายด้วยสาเหตุหลายประการเช่น
1. การที่มนุษย์มีเหตุผลและจินตนาการต่างๆทำให้มนุษย์มีวิวัฒนาการทางอารยธรรมเพิ่มขึ้น
ในขณะเดียวกันก็แยกตัวเหินห่างจากธรรมชาติ จากสัตว์โลกพวกอื่นๆและจากบุคคลอื่นๆ
2. มนุษย์แสวงหาอิสระเสรีทุกขั้นตอนของกระบวนการพัฒนา
เมื่อได้มาแล้วก็จำต้องแลกเปลี่ยนด้วยความอ้างว้าง ตัวอย่างเช่น
เด็กวัยรุ่นที่เป็นอิสระพ้นจากความดูแลพ่อแม่ผู้ปกครอง จะพบว่าตัวเองเผชิญความว้าเหว่
3.พัฒนาการทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ในวัตถุใช้สอยประจำวัน
เช่นเครื่องมือเพื่อความบันเทิง เครื่องทุ่นแรงในการทำงาน ทำให้มนุษย์มีความสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อยลง
เมื่อต้องติดต่อพูดจาก็มีท่าทีห่างเหินไว้ตัวฟรอมม์เสนอ
ทางแก้ความอ้างว้าง 2 ประการคือ
1.สร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนมนุษย์บนพื้นฐานความรักสร้างสรรค์ ( productive
Love ) ซึ่งได้แก่
ความเอื้ออาทรต่อกัน
ความรับผิดชอบต่อกันและกัน
ความนับถือซึ่งกันและกัน
ความเข้าใจซึ่งกันและกัน
2.ยอมตนอ่อนน้อมและทำตัวคล้อยตามสังคม
ฟรอมม์มีความเห็นว่ามนุษย์เราใช้เสรีภาพสร้างสังคมให้ดีขึ้นได้ตามข้อเสนอข้อแรก
ส่วนการแก้ไขความอ้างว้างด้วยการทำตัวคล้อยตามสังคมตามข้อเสนอข้อหลังเขาเห็นว่าเป็นการเข้าสู่ความเป็นทาสรูปแบบใหม่นั่นเอง
ในหนังสือ Escape from Freedom ที่เขาเขียนในปี1941
ขณะลัทธินาซีกำลังรุ่งโรจน์ เขาชี้ให้เห็นว่าลัทธิเผด็จการเบ็ดเสร็จนั้นถูกใจคนหมู่มากเพราะมันเสนอจะให้ความมั่นคง ( แก่ผู้รู้สึกอ้างว้าง ) ความต้องการ ฟรอมม์กล่าวว่ามนุษย์มีความต้องการ5ประการคือ
1.ความต้องการมีสัมพันธภาพ
เนื่องจากมนุษย์พบกับความอ้างว้างเดียวดายตามเหตุที่ได้กล่าวมาจึงต้องแก้ไขด้วยการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่นๆ
วิธีที่ดีงามต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความรักแบบสร้างสรรค์(ความเอื้ออาทรต่อกัน/ความรับผิดชอบต่อกันและกัน/ความนับถือซึ่งกันและกัน/ความเข้าใจซึ่งกันและกัน
2.ความต้องการสร้างสรรค์
เนื่องจากมนุษย์มีความสามารถทางสติปัญญาและอารมณ์สูง
จึงมีความต้องการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมของชีวิตแตกต่างกับสัตว์โลกชั้นต่ำ
หากผู้ใดไม่มีความต้องการประเภทนี้ก็มักจะเป็นนักทำลาย
เป็นอันตรายต่อผู้อื่นและสังคม
3.ความต้องการมีสังกัด
คือความต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว/ของสังคม/ของโลกความต้องการประเภทนี้ที่น่าพึงพอใจและถูกต้องคือการมีไมตรีจิตกับเพื่อนมนุษย์โดยทั่วไป
4.ความต้องการมีอัตลักษณ์แห่งตน
คือความต้องการจะเป็นตัวของตัวเอง
ความต้องการที่จะรู้จักว่าตัวเองเป็นใคร
5.ความต้องการมีหลักยึดเหนี่ยว
คือความต้องการที่จะมีหลักสำหรับอ้างอิงความถูกต้องในการกระทำของตนเช่น
คำกล่าวอ้างว่า—ฉันทำอย่างนี้เพราะหัวหน้าสั่งให้ทำหรือ—ฉันต้องมีรถยนต์เพราะไปทำธุระสะดวกขึ้น/
ข้ออ้างเหล่านี้อาจสมเหตุสมผลหรือไม่ก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น